
มีใครสงสัยเหมือนพี่ EDUGEN บ้างไหมว่า ออกซิเจน (O) ก๊าซออกซิเจน (O2) และโอโซน (O3) เป็นออกซิเจนเหมือนกัน แต่ทำไมไม่เหมือนกัน? ยิ่งคิดยิ่ง งง ยิ่ง งง ยิ่งคิด วันนี้เราไปหาคำตอบให้หายงงกันเลยดีกว่าาา…
ออกซิเจน (O) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 8 อยู่ในกลุ่ม Chalcogen เป็นองค์ประกอบที่ไม่ใช่โลหะ ออกซินเจนอะตอมพบได้น้อยมากในธรรมชาติ เนื่องจากมีความไม่เสถียรจึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่น ๆ ได้ง่าย ส่วนก๊าซออกซิเจน (O2) คือสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ที่ต้องหายใจเพื่อนำเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งก๊าซออกซิเจน (O2) เกิดจากอะตอมของธาตุออกซิเจน (O) 2 อะตอมต่อกัน โดยที่อุณหภูมิและความดันระดับปกติ ก๊าซออกซิเจนจะไม่มีสี กลิ่น และรส และพบได้ประมาณ 21% ของปริมาณอากาศทั้งหมด
เมื่อก๊าซออกซิเจนโดนรังสีอัลตร้าไวโอเลต (แสงเหนือแสงสีม่วง) หรือ ยูวี พันธะระหว่างออกซิเจนอะตอมก็จะแตกออกจากกัน ทำให้เกิดการสร้างก๊าซที่มีออกซิเจน (O) ทั้งหมด 3 อะตอม เรียกว่าโอโซน (O3) แม้ว่าโอโซน (O3) จะมีออกซิเจนเพิ่มขึ้นมาเพียงแค่ 1 อะตอม แต่คุณสมบัติทางเคมีนั้นกลับเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง โดยก๊าซโอโซนนั้นจะมีสีฟ้าอ่อน และกลิ่นแรงคล้ายกลิ่นคลอรีน อ่านมาถึงตรงนี้อาจจะยังไม่เห็นภาพ หรือยังไม่หายสงสัย เอาเป็นว่าตามพี่ EDUGEN ไปดูรูปเพิ่มความเข้าใจกันเลยยยย